การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานไทย

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

     SCB EIC เผยข้อมูลเศรษฐกิจไทยว่ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไตรมาสแรกของปี 2024 ซึ่งมีแรงส่งหลักมากจากการบริโภคของภาคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้นมาตรการลดค่าครองชีพและโครงการ Easy E-Receipt กระตุ้นการใช้จ่าย

     ผลของ E-Receipt นี้อาจไม่มากเท่าในอดีต เนื่องจาก จำกัดเฉพาะร้านที่ออก e-Tax invoice ได้ นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีแรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ ประกอบกับการผลิตบางอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้น เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์

     สำหรับเงินเฟ้อไทย แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีก่อน แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการช่วยค่าครองชีพประชาชน โดย SCB EIC ประเมินว่าประเทศไทยยังไม่เข้าสู่สภาวะเงินฝืด เนื่องจากเงินเฟ้อติดลบยังไม่กระจายตัว หลายสินค้าเป็นวงกว้าง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก มองไปข้างหน้าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากแรงกดดัน เงินเฟ้อด้านอุปทานเป็นหลัก กดดันปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังอยู่ในระดับสูงและรายได้กลุ่มเปราะบางฟื้นช้าซึ่งเป็นผลที่สอดคล้องกับผลสำรวจ SCB EIC Consumer servey 2023 ที่พบว่าผู้บริโภคมีรายได้น้อยต้องเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นหลังวิกฤติโควิด และมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่มากโดยผู้มีรายได้น้อยกว่า 1 ใน 3 ประกอบอาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป มีแนวโน้มเป็นแรงงานนอกระบบที่มีรายได้ไม่สูง ไม่สามารถเข้าถึงระบบประกันสังคม ประกอบกับมีวิธีบริหารจัดการหนี้ที่ยังไม่ดีนัก จึงต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบสูงและมีแนวโน้มอยู่ในวงจรนี้อีกนาน

     ทั้งนี้ SCB EIC แนะนำว่าภาครัฐควรใช้นโยบายระยะสั้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและแก้หนี้ให้กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ควบคู่กับนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันกับคนไทย เช่น ปรับทักษะแรงงานเพื่อยกระดับรายได้ เพิ่มสัดส่วนแรงงานทำงานในระบบ รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งการเงินส่วนบุคคล

     สถานการณ์ตลาดแรงงานไทยหลังวิกฤตโควิด

     อัตราการว่างงานของตลาดแรงงานไทยในปัจจุบันพบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการว่างงานดีขึ้นจนใกล้เคยีงกับช่วงเวลาก่อนการระบาดของโควิด ซึ่งเมือพิจารณาตามช่วงเวลาพพบว่าอัตราการว่างงานปัจจุบันมีอัตราใกล้เคียงกับช่องก่อนวิกฤตโควิด หรือที่อัตรา 1%

  •      ก่อนวิกฤตโควิด ปี 2019 มีอัตราว่างงาน 1%
  •      ระหว่างวิกฤตโควิด ปี 2020-2022 สูงถึงเกือบ 2%
  •      หลังวิกฤติโควิด ปี 2023 ลดกลับมาที่ 1%.

 

ที่มาข้อมูล: SCB Economic Intelligence Center