กำเนิด ASEAN สู่ AFTA และ AEC

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการมาได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เพราะเกิดเหตุผันผวนทางการเมืองระหว่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียกับมาเลเซีย  ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ได้มารวมตัวกันใหม่โดยก่อตั้งเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asia Nations)หรือเรียกย่อคือ “ASEAN”และได้มีสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมเป็น 5 ประเทศ  ASEAN ได้ดำเนินการความร่วมมือด้วยดีเป็นลำดับ  ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2527 ประเทศบรูไนดารุสสลาม ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 ของASEAN ตามด้วยลำดับ 7 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ลำดับ 8 และ 9 คือสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า    และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยล่าสุดคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 ซึ่งปัจจุบัน ASEAN มีสมาชิกรวม 10 ประเทศ ครอบคลุมประชากรเกือบ 600 ล้านคน

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ASEAN กล่าวโดยสรุปเป็น 3 ประเด็นดังนี้

  1. เพื่อการกินดี อยู่ดี บนพื้นฐานความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
  2. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก
  3. เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ในด้านสังคมและวัฒนธรรมของหมู่สมาชิก

สัญญลักษณ์ ASEAN

การใช้สัญญลักษณ์เป็นสิ่งรวมใจหมู่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ กล่าวคือ รวงข้าว 10 มัด

หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ รวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดงขอบสีขาวและน้ำเงิน บ่งบอกถึงความเป็นเอกภาพในการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส  ก่อเกิดความก้าวหน้า  โดยมีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงินอยู่      ใต้ภาพ แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อความมั่นคง  ด้วยสันติภาพและมีเอกภาพร่วมกัน

 

AFTA  

จากกำเนิด ASEAN ก่อเกิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือ เรียกย่อว่า AFTA เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 โดยมีเป้าหมายคือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศสมาชิก เพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิกในการเจรจาระหว่างประเทศ ดึงดูดการลงทุน และเพื่อลดภาษีศุลกากรในกลุ่มสมาชิกให้เหลือน้อยที่สุดและเป็น 0 % ในปีที่กำหนดกล่าวคือ ประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2553 และสมาชิกที่เหลืออีก 4 ประเทศคือ เวียตนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2558 

ความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศสมาชิก คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อกัน นั่นคือ การลดหย่อนภาษีขาเข้าจากภาษีนำเข้าปกติที่เคยเรียกเก็บ โดยกำหนดเวลาไว้สำหรับสมาชิกกลุ่มแรก 6 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2553 ภาษีนำเข้าเป็น 0% และในปี พ.ศ. 2558 สำหรับสมาชิกที่เหลืออีก 4 ประเทศ   ซึ่งนอกจากภาษีนำเข้าแล้ว ก็ได้มีการกำหนดให้มีการยกเลิกการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี นั่นคือ ในหมู่สมาชิกต้องไม่จำกัดการนำเข้าสินค้าและบริการระหว่างกัน และยังรวมถึงการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบของสินค้าที่ได้รับสิทธิจากการลดภาษีนั้นต้องมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของการผลิตสินค้านั้นๆ

จาก ASEAN สู่เขตการค้าเสรี AFTA ส่งผลกระทบต่อ SMEs ของไทย กล่าวคือ ในด้านภาษีนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิก นั่นคือ ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ในการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ส่งผลให้มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ  การเกิดฐานการผลิตร่วมกันนั่นคือ ประเทศสมาชิกสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกที่เหมาะเป็นแหล่งผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง วัตถุดิบนำเข้ามีราคาลดลง   สินค้าที่ผลิตจะเกิดการพัฒนาคุณภาพสินค้า ผู้บริโภคได้รับสินค้าดีมีคุณภาพ  ทำให้สินค้าด้อยคุณภาพจะขายไม่ได้ เป็นการสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้จุดเด่นของแต่ละประเทศ  ไม่มีการกีดกันสินค้าทำให้ตลาดกว้างขึ้น การส่งออกง่ายขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้นจากแต่ละประเทศ สู่กลุ่ม 10 ประเทศ ซึ่งประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน   เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรอาเซียน GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น

 

AEC (ASEAN Economic Community) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รัฐบาลได้ดำเนินการทำความตกลงเกี่ยวกับเขตการค้าเสรี ในเบื้องต้นกับประเทศกลุ่มASEAN ทั้งในรูปพหุภาคีและทวิภาคี โดยฉบับแรก คือข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยอาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ เรียกย่อว่า “AEC”   ก่อเกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของปัจจัยการผลิตทั้งสี่ ได้แก่ แรงงาน เงินทุน สินค้า และบริการ จุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมถึง การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด   การเข้าเมืองของแรงงาน (คน)  เงินทุนเสรี  สามารถค้าขายด้วยเงินสกุลต่างๆ ของอาเซียนโดยไม่มีข้อจำกัด   สามารถซื้อขายหุ้น  ข้ามชาติได้อย่างเสรี และสำหรับในด้านตลาดบริการนั้น  ไม่จำกัดขอบเขต การแข่งขันบริการ เกิดผลดี  ก็คือทำให้ราคาลดลงและมีทางเลือกสำหรับผู้บริโภค

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC นั้น เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด SMEs ต้องกระทำอย่างไรขอได้ติดตามหัวข้อดังกล่าวในฉบับต่อไป.....