คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การเสียภาษีเงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชา

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

คำชี้แจงกรมสรรพากร

เรื่อง การเสียภาษีเงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชา

 

          ตามที่กรมสรรพากรได้แก้ไขปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2 (1) และ (37) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 588) พ.ศ. 2558 และมาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 589) พ.ศ. 2558 สำหรับเงินได้ เงินปันผล หรือเงินส่วนบ่งของกำไรที่ได้รับจากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชา ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปนั้น

 

          เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ระหว่างปีภาษีหรือระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น เพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป กรมสรรพากรขอชี้แจงเกี่ยวกับการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

 

          ข้อ 1 โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชา หมายถึง โรงเรียนที่ได้รับอนุญาต และจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เสริมความรู้บางรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

          ข้อ 2 กรณีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษีที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

 

                    2.1 ให้ผู้มีเงินได้จากการประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชา ซึ่งเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร นำเงินได้ ดังกล่าวที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้และให้หักรายจ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับเงินได้ดังกล่าวไปหักจากเงินได้นั้น ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม... อ่านต่อทั้งหมด