ทำความเข้าใจกับภาษีสรรพสามิต ก่อนจะตัดสินใจซื้อรถยนต์คันแรก

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ภาษีสรรพสามิต คือภาษีประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการ ที่ไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าบั่นทอนสุภาพ โดยจุดในการรับความผิดที่จะต้องเสียภาษีนั้น อาจพิจารณาได้ด้วยกัน 4 จุด คือ

  1. เมื่อนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
  2. ชำระค่าบริการ
  3. สินค้านำเข้าเสียภาษีสรรพสามิต เมื่อนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
  4. ดัดแปลงรถยนต์เสร็จ

โดยวิธีการในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต นั้นจะมีวิธีการดำเนินการ 2 ลักษณะ คือ การเก็บตามราคาหรือมูลค่า เป็นการเก็บในอัตราร้อยละของราคาสิ่งของ เช่นเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 20 ของราคาขายปลีก หรือการเก็บตามสภาพ เช่นสุราที่กลั่นในประเทศเก็บในอัตราลิตรละ 110 บาทเป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้กับข่าวที่จะมีการปรับอัตราการจัดเก็บภาษี โดยในปี 2559 ก็ได้มีการนำนโยบายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต มาบังคับใช้กับรถยนต์ ซึ่งพิจารณาจากการปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2559

ทั้งนี้เพื่อการเป็นการกระตุ้นเตือนให้ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมหันมาให้ความสำคัญต่อการผลิตรถยนต์ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศมากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังเป็นนโยบายที่จะทำให้ประชาชนผู้ที่จะตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่เห็นความสำคัญและใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จากประเด็นนี้ท่านอธิบดีกรมสรรพสามิต ก็ได้มีการออกประกาศเพื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่ โดยแบ่งรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภท คือ รถยนต์ที่ผลิตในประเทศ และรถยนต์ที่นำเข้า ซึ่งนโยบายนี้จะไม่มีผลกระทบต่อรถยนต์ขนาดเล็กหรืออีโคคาร์ และไม่กระทบต่อรถยนต์ขนาดใหญ่หรือซุปเปอร์คาร์ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 3,000 ซีซี ขึ้นไป เพราะปัจจุบันก็จ่ายในอัตราที่สูงสุดอยู่แล้วคือ 50% 

แต่นโยบานนี้จะกระทบต่อรถยนต์ขนาด 1800-2000 ซีซีขึ้นไป ที่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มในอัตรา 3-5% จากที่เคยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 30-35 จะเปลี่ยนเป็นอัตราร้อยละ 35-40 แต่หากรถยนต์ดังกล่าวมีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตจนสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ ก็จะจ่ายภาษีลดลง 3-5% เช่นกัน

จากประเด็นนี้ทำให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีการเร่งทำการตรวจค่าคาร์บอนฯ แล้วส่งไปที่กรมสรรพสามิต เพื่อจัดพิกัดภาษีว่าจะต้องมีการจัดเก็บกันในอัตราใด ทั้งนี้รถยนต์นำเข้ากรมศุลกากรจะเป็นผู้ส่งรถมาตรวจและจัดเก็บภาษี โดยปัจจุบันก็ได้มีการดำเนินการตรวจวัดค่าคาร์บอนไปแล้ว 677 รุ่น 

 

 

 

“ได้ศึกษากันแบบนี้ก็ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ตัดสินใจนะครับ อยากมีรถยนต์สักคัน นอกจากจะเน้นความสวยหรูของรถยนต์แล้ว ก็ต้องห่วงใยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพราะโลกนี้เป็นของพวกเราทุกคน สวัสดีครับ”


อาจารย์ธนพล สุขมั่นธรรม

- ผู้เขียน -