กับกระแสที่มาแรงแซงโค้ง เกี่ยวกับการระบุรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน อาชีพลงในบัตรประชาชน ยิ่งเป็นประเด็นร้อนแรงให้หลายคนต่างมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย แต่สุดท้ายอย่างไรก็ตามนโยบายในการจัดเก็บภาษีไม่ว่าจะมีการระบุเรื่องดังกล่าวหรือไม่ก็ต้องผู้มีเงินได้ก็ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป และยิ่งปลายปีแบบนี้มักจะได้รับการเชิญชวนจากผู้ให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นการหักลดหย่อนในฐานะผู้มีเงินได้พึงประเมิน เพื่อจัดการกับรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปี 2558 ที่จะต้องนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันภายในเดือนมีนาคม 2559 นั้น ก็มีรายการต่าง ๆ มา Update ให้กับทุกท่านได้ศึกษากันครับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อน การหักลดหย่อน นั้นรายการของรายจ่ายที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มเติมหลังจากมีที่มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษี ก่อนที่จะทำการคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งรายการหักลดหย่อนนี้ประกอบไปด้วย
- กรณีมีเงินได้พึงประเมิน ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างแรงงานเมื่อหัก ค่าใช้จ่ายในอัตรา 40% ไม่เกิน 60,000 บาท แล้วนั้น ก็จะนำไปสู่การหักรายการลดหย่อนตามกฎหมายต่อไป
- หักลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการหักลดหย่อนสำหรับกรณีคนโสด)
- หักลดหย่อนสำหรับ ภรรยาหรือสามีที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนได้ 30,000 บาท (กรณีนี้ต้องเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ด้วยกันตลอดปีภาษี)
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่เกิน 3 คน) ได้คนละ 15,000 บาท แต่หากศึกษาในประเทศจะได้เพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยบิดาหรือมารดาจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท กฎหมายอนุญาตให้หักลดหย่อนได้ ท่านละ 30,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิต ในกรณีที่มีการทำประกันไว้ไม่ว่ากับบริษัทใดก็ตามหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีมีบุคคลทุพพลภาพ โดยบุคคลนั้นจะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งระบุชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลในบัตร โดยดูแลกันมาไม่น้อยกว่า 180 วัน และมีใบรับรองแพทย์ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิด้วย ทั้งนี้ผู้พิการจะต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท หักลดย่อนได้ 60,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพ บิดามารดาของตนเอง หรือบิดามารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้ กรณีนี้หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท
- คู่สมรสมีเงินได้ หักค่าเบี้ยประกันชีวิตได้สูงสุด 100,000 บาท
- รายการพิเศษที่มีการให้สิทธิสำหรับการลดย่อนกับ รายจ่ายที่ได้มีการท่องเที่ยวในประเทศสูงสุด 15,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีใบเสร็จรับเงิน ที่ออกโดยโรงแรม หรือบริษัททัวร์ที่ให้บริการ
- เงินสะสม กบข. ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
- RMF ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันแบบบำนาญลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- LTF ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าประกันสังคม หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 9,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา ลดหย่อนได้ 2 เท่า!! ของจำนวนเงินที่บริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึประเมินที่หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่กล่าวทั้งหมด
- เงินบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาคเพื่อการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมด
เห็นรายละเอียดแบบนี้แล้ว ต้องบอกเลยว่าท่านนักบริหารภาษีทั้งหลายมีเวลาเหลืออีกไม่นานครับที่ผู้มีเงินได้ทุกท่านจะต้องบริหารจัดการกับรายการต่างๆ อย่างไรก็เอาใจช่วยนะครับ
“ได้ศึกษากันแบบนี้ก็ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ตัดสินใจนะครับ อยากมีรถยนต์สักคัน นอกจากจะเน้นความสวยหรูของรถยนต์แล้ว ก็ต้องห่วงใยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพราะโลกนี้เป็นของพวกเราทุกคน สวัสดีครับ” |
- ผู้เขียน - |