จะส่งพนักงานไปอบรม หรือจะจัดอบรมภายในองค์กร ?

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

อย่างไรก็ดีในกรณีการจะส่งพนักงานออกไปอบรมภายนอก หรือจะจัดอบรมภายในองค์กรนั้น ที่ต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักดูระหว่างงบประมาณที่ต้องเสียไปกับผลที่จะได้รับ หลังจากอบรมเมื่อเสร็จสิ้นว่าอย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากันนั้น  ในบางครั้งการตัดสินใจที่ผิดพลาด อาจทำให้ท่านเสียงบประมาณไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกว่าจะอบรมแบบใด ในลำดับต่อไปท่านควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้


1.      จำนวนของพนักงาน


1.1 กรณีจำนวนพนักงานที่จะเข้าอบรมมีจำนวนมาก และต้องการศึกษาพัฒนาความรู้ในหลักสูตรที่มีเนื้อหาเดียวกัน การจัดอบรมภายในองค์กร น่าจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าการส่งพนักงานแต่ละคนออกไปอบรมภายนอก เพราะนอกจากจะสามารถประหยัดงบประมาณของหน่วยงานหรือองค์กรได้มากกว่าแล้ว ยังสามารถให้พนักงานได้ศึกษาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหา ตลอจนประสบการณ์ต่างๆไปพร้อมๆ กัน ด้วยหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน


แต่บางองค์กร อาจมีความเห็นว่าในบางกรณีหลักสูตรที่ประสงค์จะให้บุคคลากรฝึกอบรมพัฒนานั้น อาจเลือกใช้วิธีการส่งบุคคลากรที่มีความเหมาะสมสักคนหนึ่งออกไปอบรมภายนอก(Public Training) ก็น่าจะเพียงพอ โดยเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วจึงค่อยให้บุคลากรคนดังกล่าวกลับมาถ่ายทอดความ รู้ให้แก่พนักงานส่วนที่เกี่ยวข้องฟังต่อไป ซึ่งแนวทางดังกล่าว ที่เรียกกันว่าการ Coaching นั้น ถ้าท่านสามารถเลือกคนที่มีความสามารถในการเก็บรายละเอียดสิ่งที่เรียนมาและ มีความสามารถในการถ่ายทอดได้ดี และครบถ้วนนั้น องค์กรก็จะสามารถประหยัดวบประมาณได้ตามวัตถุประสงค์


แต่ในทางตรงกันข้าม หากประสิทธิภาพในการสื่อสารและสอนงานของบุคคลการคนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่ คาดหมายหรือมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆจากภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นบุคคลากรไม่ให้ความสนใจแก่การบรรยายหรือไม่มีการซักถาม และไม่ต้องการข้อมูลเชิงลึกหรือเชิงเปรียบเทียบซึ่งเกินกว่าประสบการณ์ของ พนักงานผู้สอน การฝึกอบรมดังกล่าวก็อาจไม่ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการหรืออาจเกิดความ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในหลักวิชาการได้ ซึ่งอาจส่งผลให้การลงทุนในลักษณะดังกล่าวไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากการถ่ายถอดที่ไม่ครบถ้วนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงในหลายกรณีที่ฝึกอบรมแล้วไม่สามารถกลับมาถ่ายถอดความรู้ต่อไปได้


1.2  กรณีจำนวนพนักงานที่จะเข้าอบรมมีจำนวนน้อย ไม่ถึง 10 ท่าน กรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่ เสมอในกระบวนการตัดสินใจจัดฝึกอบรมรมก็คือ จำนวนพนักงานที่เข้าอบรมมีน้อย เช่นเมื่อบริษัทมีความต้องการจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงาน จึงโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการจัดฝึกอบรมเพื่อสอบถามกรณีจะจัดอบรมแต่มีผู้ เข้าอบรมจำนวนเพียง 5 ท่าน จะสามารถจัดได้หรือไม่?  ซึ่งในความเป็นจริงจำนวนดังกล่าวย่อมสามารถจัดอบรมได้ แต่เมื่อได้ทดลองคำนวณค่าใช้จ่ายต่อผู้เข้าอบรมต่อ 1 ท่าน แล้วอาจจะพบว่า ค่าใช้จ่ายต่อคนนั้นจะอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงมาก บางครั้งอาจสูงกว่าการส่งพนักงานไปอบรมภายนอกหรือที่เรียกว่า Public เสียอีก อย่างไรก็ดีหากผู้ประสงค์จะจัดการฝึกอบรมสามารถยอมรับกับข้อเท็จจริงใน เรื่องหลักเกณฑ์ทั่วไปด้านต้นทุนเฉลี่ยต่อผู้เข้าอบรม 1ท่าน นี้ได้ ก็สามารถตัดสินใจจัดอบรมภายในองค์กรได้ และแน่นอนสิ่งที่จะได้รับจากการจัดอบรมที่มีจำนวนผู้เข้าอบรมไม่มากก็คือ เนื้อหาที่เจาะลึกและการแลกเปลี่ยนความคิด การตั้งคำถามและคำตอบที่ตรงประเด็นยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการเนื้อหาหลักสูตรที่สามารถปรับให้ตรงกับความต้องการของท่าน ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ภายใต้สภาพของสถานที่หรือห้องที่จัดอบรมซึ่งเป็นของท่านแต่เพียงผู้เดียว        


2.      ข้อมูล หรือประเด็นที่เป็นประโยชน์ สำหรับการออกแบบหลักสูตรการอบรม


ข้อแตกต่างที่สำคัญประการ หนึ่งของการจัดอบรมแบบ  Public Training และ In-House Training คือ วิธีการออกแบบหลักสูตรการอบรม ในกรณีของการอบรมแบบ Public Training ผู้เข้าอบรมคงจะไม่มีบทบาทในการร่วมกำหนดเนื้อหาหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มผู้ เข้าอบรม เพราะบริษัทที่รับจัดอบรมจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นเอง โดยจะจัดทำหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจ และคำนึงถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมในจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เจาะจงไปที่ข้อมูลหรือปัญหาของกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นการ เฉพาะ ดังนั้นหากผู้เข้าอบรมมีข้อสงสัยในเรื่องใด ก็จะต้องอาศัยความพยามยามในการสอบถามวิทยากรในระหว่างหรือภายหลังการอบรม เพื่อช่วยคลายปัญหาหรือข้อสงสัยนั้นๆ


แต่สำหรับการจัดอบรมแบบ In-House Training บริษัทที่เลือกจัดอบรมในลักษณะนี้สามารถที่จะเป็นผู้ร่วมออกแบบหลักสูตรให้ ได้ตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม บริษัท หรือกลุ่มธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งประโยชน์จะไม่ใช่แค่เพียงได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดทอนหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นๆ ได้อีกด้วย การ ตัดสินใจเลือกใช้บริการฝึกอบรมแบบ In-House Training จะไม่เป็นการใช้เวลาในการการนั่งเรียนโดยได้ผลตอบรับที่ต่ำ หรือเสียงบประมาณในจำนวนมากโดยเปล่าประโยชน์แต่อย่างใด หากผู้ต้องการจัดการฝึกอบรมมีความเข้าใจหลักการณ์ดังที่กล่าวและพร้อมที่จะ ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการออกแบบหลักสูตรนั้นๆอย่างเพียงพอ


ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อ การออกแบบหลักสูตร มีดังนี้


1.ประเภทธุรกิจของท่านว่า ทำธุรกิจอะไร


2.ผู้เข้าสัมมนาเป็นใคร (ตำแหน่ง/หน่วยงาน/ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งนั้นๆ/เพศ/อายุ)


3.วัตถุ ประสงค์ในการจัดอบรม


4.ท่านต้องการเห็นอะไรหลัง จากอบรมเสร็จสิ้นแล้ว


5. ปัญหาอะไรที่พบจากการปฏิบัติงาน จึงต้องการจัดอบรมในหลักสูตรดังกล่าว


6. ข้อมูลอื่นฯ ที่ต้องให้เพิ่มเติม (ขึ้นอยู่กับหลักสูตรการอบรม)


จากข้อมูลข้างต้น นอกจากจะช่วยในการออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียน และประเภทธุรกิจแล้ว ยังช่วยในการกำหนดตัววิทยากรว่าท่านไหนที่เหมาะสมจะเป็นผู้บรรยายให้กับ หน่วยงานของท่านอีกด้วย