ดร. เสาวณี จันทะพงษ์
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง” (Middle-income Trap) และประสบปัญหาการลดลงของผลิตภาพแรงงานและกำลังแรงงาน โดยอย่างหลังเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วทำให้เกิดปรากฏการณ์ “แก่ก่อนที่จะรวย” นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพด้วย ซึ่งล้วนเป็นข้อจำกัดต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย (Structural Transformation) เพื่อก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทยสู่ระดับที่สูงขึ้น เหล่านี้ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วกระบวนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยจากมุมมองตลาดแรงงานในปัจจุบันเป็นอย่างไร? และในระยะสั้นหากประเทศเราไม่สามารถเพิ่มการลงทุน หรือเปลี่ยนไปผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงได้ในทันทีเราจะมีวิธีการใดทำให้กระบวนการนี้กลับมาได้บ้าง? บทความนี้จะตอบคำถามข้างต้นโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกพูดถึงความสำคัญและสถานะปัจจุบันของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ส่วนที่สองชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน และส่วนที่สามนำเสนอแนวทางที่จะทำให้กระบวนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
1. ความสำคัญและสถานะปัจจุบันของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งด้านการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตทั้งแรงงานและทุนและโครงสร้างการตลาด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการเพิ่มระดับรายได้ประชาชาติให้สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งจะทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้นกว่าเดิม จากงานศึกษาของ ADB (2013) ด้าน Asia’s Economic Transformation ชี้ว่าคุณลักษณะร่วมที่มักพบจากประสบการณ์ของประเทศที่สามารถก้าวข้ามไปเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศในเอเชียที่พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างก้าวกระโดดในช่วง 4-5 ทศวรรษ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมีทิศทางเดียวกันกับอัตราการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานสูง ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยขยายตัวช้าและต่ำกว่าศักยภาพ ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของกำลังแรงงานลดลงต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้าอัตรานี้จะลดต่ำลงจนเกือบเป็นศูนย์สะท้อนว่าโอกาสที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มาจากการเติบโตของประชากรจะหมดไปเหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว จึงเป็นเหตุให้ในระยะหลังมีการพูดถึงแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานกันมากขึ้น
3. แนวทางที่จะทำให้กระบวนการเพิ่มผลิตภาพแรงงานด้วยกลไกการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องปฏิรูปหลายภาคส่วนพร้อมกัน ต้องใช้เวลาและต้องเริ่มให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ใน 3 แนวทางหลัก
-----------------------------------------------------------------------------------------------
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
อ่านบทความเต็มได้ ที่นี่
บทความโดย : ดร. เสาวณี จันทะพงษ์
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)