[Case Study] ตัวอย่างการวางแผนภาษีและการคำนวณภาษีจากคอร์ส Money Literacy

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

       สำหรับบทความนี้ คุณ TAXBugnoms แห่ง เว็บไซต์ Aommoney ได้พาทุกท่านกลับไปยังจุดตั้งต้น อย่างเรื่องของ 'การคำนวณภาษี' "วิธีคำนวณภาษี" นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งตัวอย่างในวันนี้มาจาก คอร๋สการเงินสุดฮอตอย่าง Money Literacy ที่จัดขึ้นมามากกว่า 10 ครั้งทั่วประเทศไทย มาดูกันเลยดีกว่าครับว่า ตัวอย่างของเราในบทความนี้ มีรายละเอียดอะไรบ้าง

       นายชัดเจนอายุ 26 ปี ประกอบอาชีพวิศวกรโยธาในบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 32,000 บาท โบนัสขั้นต่ำปกติ 2 เดือน

 ในส่วนของรายรับนอกเหนือไปจากเงินเดือนแล้ว นายชัดเจนยังตกลงเซ็นสัญญารับจ้างคุมงานก่อสร้างอีกมูลค่า 80,000 บาท โดยผู้รับเหมาจะจ่ายให้เขาเป็น 8 งวด งวดละ 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป (รายรับรายการนี้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3%)

 ในแต่ละเดือนนายชัดเจนมีรายการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีดังต่อไปนี้

– ภาษี (จากเงินเดือน) 2,200 บาท 

– ประกันสังคม 750 บาท 

– หักสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5% ของเงินเดือน 

– เงินค่างวดผ่อนชำระคอนโดมิเนียม 4,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นเงินต้น 1,000 บาท ที่เหลือ 3,000 เป็นดอกเบี้ย 

– เงินบริจาค 500 บาท

ในส่วนของรายจ่ายรายปีมีดังต่อไปนี้

– เบี้ยประกันชีวิต 20,000 บาท ชำระในเดือนธันวาคม 

– ปลายปี 2558 นายชัดเจนวางแผนที่จะซื้อกองทุนรวม LTF 50,000 บาท

 

คำนวณภาษีเงินได้ที่นายชัดเจนต้องชำระในปี 2558

สมการการคำนวณภาษีของนายชัดเจน คือ 

[(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค] x อัตราภาษี

 

รายได้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ รายได้จากเงินเดือน และ รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ โดยเราจะแยกพิจารณาตามนี้ครับ

– รายได้จากเงินเดือน (ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 ในการคำนวณภาษี)

เงินเดือนทั้งปี จำนวน 32,000 x 12 = 384,000 บาท

โบนัส 2 เดือน จำนวน 32,000 x 2 = 64,000 บาท

รวมทั้งสิ้น 448,000 บาท

– รายได้จากวิชาชีพอิสระ – วิศวกรรม (ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 6 ในการคำนวณภาษี)

ค่าจ้างงวดละ 10,000 บาท จำนวน 8 งวด 10,000 x 8 = 80,000 บาท

การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 2 ประเภทนั้นแตกต่างกันดังนี้

– เงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 40% ไม่เกิน 60,000 บาท ในที่นี้ คือ 60,000 บาท 

– เงินได้ประเภทที่ 6 (วิศวกรรม) หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 30% ในที่นี้คือ 24,000 บาท

 

เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณตามตารางเพื่อหักค่าลดหย่อนจะได้ดังนี้ครับ

เมื่อได้เงินได้สุทธิแล้ว สิ่งต่อมาคือการคำนวณภาษี … 

โดยเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะคำนวณภาษีออกมาได้ทั้งสิ้นจำนวน (150,000 x 0) + (123,800 x 5) = 6,190 บาท

 

       แต่จากข้อมูลเราจะเห็นว่านายชัดเจนถูกหักภาษี ณ ที่จ่า่ยไว้ทั้งสิ้นจำนวน 28,800 บาท ซึ่งคำนวณมาจากเงินเดือน 12 เดือน (2,200 x12) และ ค่าจ้างจากวิชาชีพอิสระ (80,000 x 3%) ดังนั้นจะกลายเป็นว่า นายชัดเจนได้ภาษีคืนเป็นจำนวน 22,610 บาทนั่นเอง

       หากใครดูแล้วยังงงๆ ไม่เข้าใจ ผมมีคลิปการคำนวณภาษีเรื่องนี้มาฝากให้ดูกันด้วยครับผม สามารถดูได้ที่ Youtube Channel TAXBugnoms นี้เลย https://youtu.be/BPy7dIkqZA8 

 

ขอขอบคุณที่มา : aommoney