ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax )

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

       

        ผู้ที่มีหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากรและต้องนำภาษีที่หักส่งกรมสรรพากรโดยผลของมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามระบบ e-Withholding Tax นั้น ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ทำการหักภาษีและนำส่งภาษีที่หักนั้นต่อธนาคารทันที ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้นำส่งเงินภาษีดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรเอง  นอกจากนั้นแล้วการทำธุรกรรมต่างๆ ในประเทศ (Domestic Transaction) หรือการทำธุรกรรมข้ามประเทศ (Cross Border Transaction) หากมีการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ธนาคารจะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีที่หักภาษีไว้ และส่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมให้กรมสรรพากรเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการจึงไม่มีความจำเป็นต้องยื่นแบบหัก ณ ที่จ่ายและอาจไม่ต้องออกหนังสือรับรอง ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการหัก ณ ที่จ่ายและการถูกหัก ณ ที่จ่ายในระบบของกรมสรรพากรได้

 

        การอำนวยความสะดวกดังกล่าวส่งผลต่อการลดต้นทุนในการจัดเก็บภาษี ไม่ว่าจะเป็นแง่ของระยะเวลาหรือในแง่ของทรัพยากร ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาครัฐเองก็ได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีที่เป็นระบบประหยัดเวลาและงบประมาณ ส่วนภาคเอกชนก็ได้รับความสะดวกสบายในการนำส่งภาษี ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียภาษีผิดรูปแบบหรือผิดขั้นตอน เพราะการเสียภาษีไม่ได้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและกินเวลาจนล่าช้าอีกต่อไป

 

 

ที่มา : บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด