ก่อนที่จะเริ่ม PROMPT PAY นี้ ริเริ่มโดยกระทรวงการคลัง ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินแบบใหม่ โดยบัตรประชาชนแบบชิพ (SmartCard) โดยใช้ชื่อว่า Any ID ก่อนที่จะมาเป็นชื่อ PROMPT PAY (พร้อมเพย์ ) โดยเกิดขึ้นจากนโยบายของทางรัฐบาล ซึ่งประเทศไทยมีแนวคิดส่งเสริมเกี่ยวกับ Digital Economy (เศรษฐกิจดิจิทัล) ทำให้กระทรวงการคลังผลักดันระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ National e-Payment
โดยบริการ PROMPT PAY (พร้อมเพย์) ชื่อเดิมคือ Any ID ถือเป็นโครงแรกใน ยุทธศาสตร์ National e-Payment ของรัฐบาลไทย เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งประชาชนในการโอนเงิน และภาครัฐในการจ่ายสวัสดิการของรัฐ และเกี่ยวกับการคืนเงินภาษีแก่ประชาชนด้วย ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
PROMPT PAY คือ บริการโอนเงินและรับเงินโอนแบบใหม่ โดยผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ประชาชนโอนเงินสะดวกง่ายขึ้น แค่จำหมายเลขบัตรประชาชนปลายทางที่จะโอน หรือจำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจดหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ยาวและจำยาก บริการนี้ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ได้ร่วมมือพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนระบบการชำระเงินแบบ Any ID ภายใต้โครงการ National e-Payment ลดการใช้เงินสดในการพกเงินเยอะๆ ใช้จ่ายผ่านทาง e-payment มากขึ้นง่ายด้วยปลายนิ้ว
ทั้งนี้ PROMPT PAY ในเฟสแรก เริ่มที่ประชาชนทั่วไปก่อน เพื่อให้บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งในอนาคตการรับเงินภาษีคืน การรับเบี้ยยังชีพทั้งผู้สูงอายุและคนพิการ ก็ดำเนินการผ่านทาง Prompt Pay เช่นกัน ซึ่งจะไม่ต้องรับเช็คไปสาขาธนาคารเพื่อรับเงินแล้ว เพราะรัฐบาลจ่ายเงินให้เราทาง PROMPT PAY ทันที และยังสามารถโอนเงินให้ญาติ หรือเพื่อนๆกันเอง หรือคนอื่นๆได้ด้วย และจะรองรับโอนเงินกับร้านค้าต่างๆในอนาคต
จุดเด่นของระบบ PROMPT PAY คือ การโอนเงินเข้าธนาคารเดียวกัน หรือต่างธนาคารผ่านระบบ PROMPT PAY ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมเยอะมาก โดย วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทไม่เสียค่าธรรมเนียม วงเงิน 5,001-30,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ วงเงิน 30,001-100,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขี้นไปคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ เมื่อสมัคร PROMPT PAY สามารถผูกบัญชีอย่างไรได้บ้าง ?
รูปที่ 1 บัญชีธนาคาร สามารถผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ ได้ รูปที่ 2 บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือหลายเบอร์ได้ สูงสุด 3 เบอร์ต่อ 1 บัญชี รูปที่ 3 หากมี 2 บัญชี ก็ บัญชีนึงผูกกับบัตรประชาชน ซึ่งบัญชีนั้นจะมีความสำคัญในกรณีคืนเงินภาษี หรือรับเงินกับสวัสดิการภาครัฐ อีกบัญชีนึงผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เบอร์ ไว้สำหรับโอนเงิน ทำธุรกรรม รูปที่ 4 สำหรับคนมีบัญชีเยอะและเบอร์มือถือเยอะ ก็สามารถผูกได้ลักษณะนี้ได้ 1 เบอร์ ต่อ 1 บัญชี แต่อย่างไรก็ตามบริการ PROMPT PAY นี้บัญชีธนาคาร สามารถ ผูกกับบัตรประชาชนได้เพียง 1 ใบ และเบอร์มือถือ 3 เบอร์ ต่อ 1 คนเท่านั้น และ 1 คนที่ใช้บริการ PROMPT PAY ผูกกับปัญชีธนาคาร สูงสุดเพียง 4 บัญชี* ( *ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร) หากสนใจสมัคร PROMPT PAY ทำอย่างไร
เตรียมบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน + บัตรประชาชน + เบอร์โทรศัพท์มือถือ
โดยสามารถลงทะเบียนได้ทั้ง 4 ช่องทาง คือ สาขาธนาคาร , ตู้ ATM , Internet Banking , Mobile Banking ของธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่
เริ่มลงทะเบียน PROMPT PAY ทุกธนาคาร 15 กรกฎาคม 2559 (โดยธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้ จนถึง 14 กรกฎาคม 2559 และทางธนาคารจะแจ้งผลการสมัครบริการผ่านทาง SMS ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2559 )
อย่างไรก็ตามการให้บริการ PROMPT PAY เป็นการให้บริการที่แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ใช้ และอาจจะยังไม่เห็นความจำเป็นต้องรีบสมัครทันที เพราะกว่าจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบจริงๆ ก็ช่วงวันที่ 31 ตุลาคม 2559
ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย , ศคง.1213
แหล่งที่มา : www.it24hrs.com