พาดหัวอย่างน่าตระหนกตกใจ แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบัญชีจะต้องทราบและพึงระมัดระวัง เพราะหากผิดพลาดไปแล้วจะกระทบกับวิชาชีพ อีกทั้งบทลงโทษที่มีทั้งปรับและจำคุกครับ ฉบับนี้ Mr.CPD จึงหยิบยกประเด็นที่สำคัญๆ และใกล้ตัวมากที่สุดเป็นเคส มาเล่าสู่กันฟังครับ
1.ผู้ทำบัญชี
การดำเนินการ บริษัทจะต้องจัดให้มีผู้ทำต่อบัญชีที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ควบคุมดูแล ผู้ทำบัญชี ให้จัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรงต่อความเป็นจริง หากไม่ปฏิบัติตาม
บทลงโทษ : ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
2.การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี
การดำเนินการ ผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องภายใน 1 ปี ต้องอบรมทั้งสิ้น 12 ชม. โดยจะแบ่งเป็นวิชาบัญชี 6 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจะเป็นชั่วโมงอื่นๆ หรือชั่วโมงบัญชีก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตาม
บทลงโทษ : ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3.การต่ออายุหรือสมัครสมาชิกกับสภาวิชาชีพบัญชี
การดำเนินการ ผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับสภาวิชาชีพบัญชีด้วย ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี 2547 โดยจะต้องต่ออายุสมาชิกภาพทุกๆ ปี เพื่อรักษาสิทธิการเป็นผู้ทำบัญชี หากไม่ปฏิบัติตาม
บทลงโทษ : สิ้นสภาพการเป็นผู้ทำบัญชี
4.การทำบัญชี
การดำเนินการ จะต้องจัดให้มีการทำบัญชีและการทำบัญชีจะต้องครบถ้วนถูกต้อง ตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่มีต้องมีในการลงบัญชี ระยะเวลาที่ต้องมีในบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หากไม่ปฏิบัติตาม
บทลงโทษ :
- โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
5.เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
การดำเนินการ
- จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการบัญชี
- ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบสำคัญจ่าย ฯลฯ ให้ครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี
บทลงโทษ :
- มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
6.ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน
การดำเนินการ
- ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มต้นบัญชีและปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
- จัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด
- จัดทำงบการเงินโดยตรวจสอบและได้รับความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
บทลงโทษ :
- มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ปรับไม่เกินห้าพันบาท
- ปรับไม่เกินสองเหมื่นบาท
7.ยื่นงบการเงิน
การดำเนินการ
- ยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ยื่นงบการเกินภายใน 5 เดือนนับแต่ปิดบัญชี
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- บริษัทจำกัด>
- บริษัทมหาชน ต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
บทลงโทษ : มีโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
8.เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลธรรมดาตามประเภทที่กำหนดให้ทำบัญชี เมื่อเลิกประกอบธุรกิจต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ
บทลงโทษ : ปรับไม่เกินห้าพันบาท
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนกันยายน 2558 (คอลัมน์ MR.CPD:CPD NEWS: บัญชี)