ดังนั้น แนวคิดหนึ่งในการวางแผนเก็บนับชั่วโมงในแต่ละปีที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งก็คือ การวางแผนอบรมเป็นสองช่วง คือช่วงต้นปีหนึ่งครั้ง และอีกครั้งในช่วงปลายปี
เหตุผลก็คือ ในช่วงต้นปียังเป็นช่วงที่ผู้ทำบัญชีพอที่จะมีเวลาในการเข้ารับการอบรม และจะเป็นประโยชน์ยิ่งหากคัดสรรหลักสูตรที่จะติดตามอัพเดทความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปิดบัญชีในรอบปีที่กำลังจะมาถึง
ส่วนการอบรมในช่วงปลายปีนั้น ก็เพื่อที่จะอัพเดท และรับฟังความเปลี่ยนเปลี่ยนในทางวิชาชีพที่เกิดขึ้นในตลอดรอบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับปี 2558 ที่มีแนวโน้มจะมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหลายเรื่องหลายประการทั้งในแง่มุมของมาตรฐานการบัญชี กฏหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ ทางภาษีอากร และกฏหมายธุรกิจ ตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆจากการเปลี่ยนแปลงจากการเตรียมการเข้าสู่เออีซีที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในปลายปี 2558 อันใกล้นี้ค่อนข้างมาก
สำหรับหลักสูตรอบรมสัมมนาโดย บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด ที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นปี ระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 นี้ ก็ได้เตรียมการคัดสรรหลักสูตรอบรมคุณภาพดีและเป็นที่น่าสนใจไว้สำหรับไว้ให้บริการแก่ผู้ทำบัญชีและผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาหลายเรื่องหลายแง่มุมครับ
และเพื่อในการนี้ก็ได้จัดให้มีสิทธิประโยชน์พิเศษเฉพาะในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ซึ่งได้แก่ สิทธิส่วนลดในการเข้าอบรมในหลักสูตร ด้านบัญชี-ภาษีอากร
โดยเข้าอบรม 1 ท่าน รับส่วนลดทันที 200 บาท และเข้าอบรม 2 ท่าน รับส่วนลด 600 บาท (สำหรับหลักสูตรอบรมที่มีมูลค่าตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป / ราคานี้ยังไม่รวม VAT / ออกใบเสร็จฉบับเดียวกัน / หลักสูตรเดียวกัน) แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ ผู้เข้าอบรมจะได้รับฟรี หนังสือ "Highlight of Revenue Tax Ruling" (รวมประเด็นร้อนตอบข้อหารือกรมสรรพากร) ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมข้อหารือสำคัญและปัญหาในการปฏิบัตงานที่นักบัญชีไม่ควรพลาดไว้ในขนาดกว่า 400 หน้า และไม่มีจำหน่ายทั่วไป อีกด้วย
นอกเหนือจากหลักสูตรด้านบัญชี-ภาษีอากรแล้ว สำหรับหลักสูตรด้านอื่นๆ ซึ่งได้แก่ หลักสูตรอบรมนับชั่วโมงราคาพิเศษ หลักสูตรการบริการจัดการ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กฏหมายธุรกิจ กฏหมายแรงงาน ฯลฯ ก็จัดสิทธิประโยชน์ที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้เข้าอบรมไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.dst.co.th ครับ
มาที่เรื่องสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกันบ้าง เมื่อปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ ที่สำคัญระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน 4 ฉบับ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องในภาพใหญ่ระดับประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจะมีผลต่อการทำงานในทางวิชาชีพในด้านใดด้านหนึ่งในอนาคต บันทึกความเข้าใจ 4 ฉบับที่ว่าประกอบไปด้วย
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทยระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารประชาชนจีน (The Memorandum of Understanding on the Designation of the Renminbi Clearing Bank in Thailand) ผู้ลงนามฝ่ายไทย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประทศไทย กับ นางหู เสี่ยวเลี่ยน รองผู้ว่าธนาคารประชาชนจีน
ความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท (Chinese Yuan/Thai Baht Currency Swap Arrangement) กับธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อต่ออายุความตกลงฯ ผู้ลงนามฝ่ายไทย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประทศไทยและนางหู เสี่ยวเลี่ยน รองผู้ว่าธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBC)
บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการทรัพยากรน้ำและการชลประทานระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับกระทรวงทรัพยากรน้ำของจีน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด (Bank of China Limited) ผู้ลงนามระหว่าง นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนายเถียน กั๋วลี่ ประธานธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด (อ้างอิง: http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000147036)
จึงเป็นเรื่องที่ติดตามความเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบทบาทในเรื่องสกุลเงินหยวนซึ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบการซื้อขายและชำระเงินระหว่างกันมากขึ้นเป็นลำดับครับ
ที่มา: บทความ คอลัมน์ฟรีสไตล์วาไรตี้ วารสาร CPD&Account ฉบับเดือนมกราคม 2558