ดร.พิเชฐ กล่าวว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเริ่มต้นในปลายปีนี้ ทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญด้านนโยบายอาเซียนและผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเหมาะสมและมีผลเป็นรูปธรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยที่ทิศทางการพัฒนาประเทศขณะนี้มุ่งเน้นเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) บนฐาน“นวัตกรรม” (Innovation Based) มาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและเชื่อมโยงใน 4 มิติเป้าหมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อรุกสู่ ASEAN EconomicCommunity (AEC)
ดร.พิเชฐ กล่าวอีกว่า 5 หน่วยงานพันธมิตรของรัฐประกอบด้วย 1.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 4.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ5.จังหวัดระยอง จึงได้ร่วมคิด ร่วมทำงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกัน กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก 5 C โดยบูรณาการ DigitalTechnology 5 S ได้แก่ GIS (GeospatialInformation System), GNSS (Global Navigation Satellite System) RS (RemoteSensing) SIS (Strategic Information System) และ DS (Decision System) เพื่อสร้าง DigitalEconomy Platform ใช้ในการค้นหา บริหารจัดการ และพัฒนาพื้นที่บน Economic Corridorsที่เหมาะสมกับการจัดตั้งเมืองในอนาคต (Cities of Future) ทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริการ โดยคำนึงถึง Value Chain ตามเงื่อนไขตามปัจจัยที่ประเทศต้องการ ซึ่งถือเป็น Synergy ที่มีพลังก่อให้เกิดการขับเคลื่อนในวงกว้าง โดยเน้นการใช้ยุทธศาสตร์ 5 C คือ Cluster (การรวมกลุ่ม) Connectivity (การเชื่อมโยง) Capability(การใช้ความสามารถ) Co - Creator (การสร้างพันธมิตร) และ Community (การพัฒนาประชาคม)
รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกล่าวเสริมว่า จากแนวคิดที่ท่านรัฐมนตรีฯ กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ จะทำให้การผนึกกำลังของหน่วยงานทั้ง 5 หน่วยงาน บรรลุเป้าหมายใน 4 มิติดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การจัดทำ Innovative Mappingon ASEAN Economic Corridors บน Digital Platform อาทิ การสร้าง Platform การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-tourism City) การส่งเสริมและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ (Industry city) และการรังสรรค์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ที่มา : รัฐบาลไทย