เงินเดือนนักบัญชี ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

       

         หลังจากที่ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้ง 10 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการยอมรับ ร่วมบริการวิชาชีพบัญชีของอาเซียน (Mutual Recognition Arrangement on Accountancy Services: MRA) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 แล้วนั้น หน่วยงานกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีของแต่ละประเทศ ได้ร่วมกันกำหนดคุณสมบัติและขั้นตอนเพื่อเอื้อให้เกิดการเคลื่อนย้ายนักบัญชีได้อย่างคล่องตัว

          ตารางแสดงเงินเดือนเฉลี่ยในสาขา Accounting and Finance เรียงตามลำดับจากประเทศที่มีเงินเดือนเฉลี่ยสูงที่สุดจนต่ำสุด

         กลุ่มที่ 1 ประเทศสิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 1 คือ มีเงินเดือนเฉลี่ย 172,520 บาท สูงเป็นเกือบ 3 เท่าของประเทศไทยที่มีเงินเดือนเฉลี่ยสูงเป็นลำดับที่ 2 คือ เดือนละ 62,161 บาท

         กลุ่มที่ 2 กลุ่มประเทศลำดับรองจากประเทศไทย คือ บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เงินเดือนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ในช่วง 40,000 ถึง 60,000 บาท

         กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีเงินเดือนใกล้เคียงกัน คือ ประเทศฟิลิปปินส์และเวียดนามอยู่ประมาณ 2 หมื่นบาท สำหรับ ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ พม่า ลาว เขมร เงินเดือนนักบัญชียังต่ำมาก คือ หลักพันบาทเท่านั้น

          เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดอันดับของความต้องการไปทำงาน ของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ามีรูปแบบค่อนข้างเรียงตามระดับเงินเดือน เฉลี่ย นั่นคือ ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่นักบัญชีไทยต้องการไปทำงาน มากที่สุดและเป็นประเทศที่มีเงินเดือนมากที่สุดความต้องการไปทำงาน จะลดหลั่นกันไปตามระดับเงินเดือน ยกเว้นประเทศเวียดนาม ที่มี เงินเดือนเป็นลำดับที่ 7 แต่กลับเป็นประเทศที่มีผู้ต้องการไปทำงาน เป็นลำดับที่ 3 สาเหตุอาจเป็นเพราะเวียดนามเป็นประเทศเปิดใหม่ที่มี ศักยภาพในการเติบโตสูง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งเป็นเหตุผลลำดับที่สองของการต้องการ ไปทำงานในต่างประเทศ (อมรา ติรศรีวัฒน์, 2559)

          การจัดอันดับของประเทศเวียดนามดังกล่าว ตรงข้ามกับ ประเทศบรูไน ที่มีเงินเดือนเป็นลำดับที่ 3 แต่ความต้องการไปทำงาน กลับเป็นลำดับที่ 7 ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศบรูไนเป็นประเทศที่มี ความเฉพาะตัวในเรื่องของการปกครองและศาสนาที่นักบัญชีไทยอาจไม่ คุ้นเคย สอดคล้องกับเหตุผลที่ผู้ตอบแบบสอบถามปฏิเสธการไปทำงาน ในต่างประเทศสูงเป็นอันดับสอง คือ ความเสี่ยงและความไม่มั่นคง เรื่องความปลอดภัย รองจากเหตุผลอันดับหนึ่ง คือ ภาระและเหตุผล เกี่ยวกับครอบครัว (อมรา ติรศรีวัฒน์, 2559)

         การวิเคราะห์เงินเดือนและความต้องการเคลื่อนย้ายแรงงานด้านบัญชี ของนักบัญชีไทยข้างต้นสะท้อนให้เห็นภาพของแนวโน้มการเคลื่อนย้าย แรงงาน เมื่อกติกาข้อบังคับมีการผ่อนปรนให้มีการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีมากขึ้น ประเทศไทยน่าจะเป็นเป้าหมายลำดับต้นของนักบัญชีต่างชาติ ด้วยค่าตอบแทนที่สูงและสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายของประเทศไทย จึงจำเป็นที่นักบัญชีไทยต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับนักบัญชีจากประเทศสมาชิกที่มีความสนใจประกอบวิชาชีพบัญชี ในประเทศไทย นอกเหนือจากการแข่งขันเพื่อเข้าไปประกอบอาชีพในประเทศกลุ่มสมาชิก

 

 

ที่มา : cits