10 เรื่องบัญชี-ภาษี ที่เจ้าของกิจการควรรู้

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

10 เรื่องบัญชี-ภาษี ที่เจ้าของกิจการควรรู้

 

ข้อที่ 1: ขายปีหนึ่งเกิน 1.8 ล้าน ต้องเตรียมตัว

เรื่องนี้คุณต้องรู้นะ ถ้าเราค้าขายแล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน ใน1 ปี ต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT นั่นคือทุกครั้งที่ขายต้องมีภาษีขายที่ไปเก็บกับลูกค้าอีก 7% และดูว่ายอดซื้อที่เราจ่ายมีภาษีซื้อไหม #รายละเอียดมีมากตามดูย้อนได้จากวีดีโอย้อนหลัง 

ปล. ถ้าตอนนี้เน้นราคาถูก นำเข้าจากจีนแบบดำดินไม่เสียภาษีซื้อ หรือซื้อจากแหล่งที่ไม่ออกใบกำกับภาษี 

#หากทุกยอดขายมีภาษีขาย 

#ในยอดซื้อไม่มีภาษีซื้อ

#ยื่นVATสูงนะจ๊ะ

 

ข้อที่ 2 : เบี้ยปรับภาษีย้อนหลัง ทำพิษ

ภาษีที่จะถูกปรับย้อนหลัง เป็นจำนวนที่มาก หลักแสน หลักล้าน มีอยู่จริง และส่วนใหญ่ก็เกิดจาก #ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายร้านค้าขายเกิน 1.8 ล้าน แต่หลบรายได้ ไม่เข้าระบบ VAT พอตรวจเจอมาทีก็เจ็บ จุก กันไปเป็นแถว เรื่องนี้ต้องระวังมากๆ

 

ข้อ 3 : ภาษีเงินได้ ไม่ได้คิดจากรายได้

การค้าขายในนามบุคคล แปลว่าเรามีรายได้ หลักการคือ #บุคคลที่มีรายได้ต้องยื่นภาษี การยื่นบางทีก็ไม่ต้องจ่ายก็ได้นะคะ หัวข้อนี้คุณต้องคิดว่า รายได้ที่ได้มา เมื่อหักสิ่งต่างๆที่สรรพากรให้หักแล้ว เราจะเหลือยอดที่ต้องไปเสียภาษีเท่าไหร่

รายได้ - ค่าใช้จ่ายเหมา-ลดหย่อน = เงินสุทธิ

เราถึงนำยอดเงินสุทธิ ไปคำนวณภาษี

 

ข้อ 4 : ลดอัตราค่าใช้จ่ายเหมา 80% > 60%

หากมองจากภาพรวม ถ้าให้หักค่าใช้จ่ายน้อยลงแปลว่าส่วนที่เหลือจะสูงขึ้นแน่นอน หากค้าขายในนามบุคคล เราจะคำนวณภาษีโดยคิดตาม ม.40(8) หากขายของในสิ่งที่เราไม่ได้ผลิต ปกติหักได้ 80% แต่ปีหน้า 2560 รายได้บาทแรกของปีหน้าหักได้แค่ 60%

VDO อธิบายการคำนวณ

https://goo.gl/KceLdQ

 

ข้อ 5 : ปี 2560 เพิ่มค่าลดหย่อน

นี้ถือเป็นข่าวดีจากสรรพากรที่ดีที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา จะมีผลกระทบต่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างมาก

ส่วนตัว จาก 30,000 >> 60,000

คุ่สมรส จาก 30,000 >> 60,000

ลูก จาก 17,000 >> 30,000

ลูก จาก ไม่เกิน 3 คน >>> ไม่จำกัดจำนวน

ปล. ลูกหักได้ไม่จำกัดจำนวน แต่สามี หรือ ภรรยา นำมาลดหย่อนได้แค่ 1 คนนะคะ ต้องจดทะเบียนสมรส

 

ข้อ 6 : รับให้ง่าย 

เราควรต้องมีระบบการรับเงินที่ดี อาจจะมีหลายธนาคาร หรือจะเพียงไม่กี่ธนาคาร ก็ได้ แต่เราต้องบริหารการเก็บเงินให้ลูกค้าจ่ายได้สะดวก และเราสามารถเช็คยอดเงินได้เร็ว

 

ข้อ 7 : จ่ายให้เป็นระบบ

ควรแยกบัญชีรับ และจ่ายคนละบัญชี เช่น รายได้รับเข้าบัญชี A,B

หากมีค่าใช้จ่าย ให้จ่ายออกจากบัญชี C ดังนั้นทุกๆสัปดาห์เราจะถอนเงินออกจากบัญชี A หรือ B เพื่อมาเป็นงบประมาณในการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกิจการ #ขอแนะนำจากใจไม่ควรรวมใช้แค่บัญชีแค่เลขเดียว

 

ข้อ 8 : พร้อมเพย์ ต้องมีและควรทำใจ

วาระแห่งชาติ National E Payment มีหลายโครงการซึ่งตัวแรกที่กำลังจะเริ่มใช้ในปี 2560 คือพร้อมเพย์ โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท จะข้ามจังหวัด ข้ามธนาคาร ไม่เสียค่าธรรมเนียม และถ้าใครใช้ผ่านพร้อมเพย์ มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลทุกเดือน #ลูกค้ายิ้ม #แม่ค้าหนาว

ถึงยุคที่เราต้องแสดงรายได้ที่แท้จริงแล้วสินะ เพราะได้ข่าวว่าบัญชีที่ผูกกับพร้อมเพย์ สรรพากรดูได้เลย หนาาาาาาาวววว ป่ะล่ะ!!

 

ข้อ 9 : ซื้อเชื่อ ขายสด บริหารเงินสดให้ดี

เรื่องการสั่งของมาขาย หากเราได้เครดิตหลายวันก็ถือว่าเป็นเรื่องดี เอาของมาขายแล้วเก็บเงินสด ผ่านไปสักพักค่อยจ่ายค่าของ เท่าที่อ่านมามีแต่เรื่องดีๆ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือการนำเงินสดไปใช้ซะหมด ก่อนถึงเวลาจ่ายค่าของ #เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยในแม่ค้าที่มือใหม่และมือเติบใช้เงินเก่ง

 

ข้อ 10 : สินค้าคงเหลือมาก จะพาจน

พอเริ่มขายดี ก็เริ่มสั่งของเยอะขึ้น....พอสั่งของเยอะๆ เราก็จะได้ราคาทุนต่อชิ้นที่ถูกลง ขายราคาเดิม กำไรก็สูงขึ้น เท่าที่อ่านมาดูดีใช้ไหมค่ะ แต่กลับกันถ้าของที่สั่งมา เราจ่ายเงินซื้อออกไป แต่ของขายไม่หมดสักที เงินที่ของเราก็จะจมอยู่กับมูลค่าสินค้าที่ซึ้อมาไว้ในปริมาณที่มาก #บริหารสต๊อคให้มีในปริมาณที่พอเหมาะกับยอดขายและเงินทุนในกระเป๋า 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของกิจการ